กรร- ๓ หมายถึง [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทนกระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า,กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม -กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
[กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวงนครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
[กันกด] (แบบ) น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์.(สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
[กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคตใจแลไปกรรกษ บารนี ฯ.(ม. คําหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
[กัน-] (กลอน) น. การะเกด เช่น จงกลกรรเกดแก้ว กรองมาลย์.(ทวาทศมาส).
[กันไกฺร] น. ตะไกร. (เลือนมาจาก กรรไตร). (ดู ตะไกร ๑).
[กัน-] น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา). [ข. ตฺรเจียก ว่า หู].
น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจําหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).